วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาค


 
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร

ตอบ  กฎหมาย คือ บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและใช้บังคับความประพฤติของบุคคล อันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ และเมื่อปฏิบัติตามก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อสังคม และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ

ตอบ เห็นด้วยค่ะ เพราะผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีจรรยาบรรณ ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกศิษย์ ตามกฎหมาย พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้กำหนดให้ วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพควบคุม ผู้ประกอบวิชาชีพนี้จำเป็นต้องมี ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จึงจะเป็น ครูได้ เช่นเดียวกับ แพทย์ หรือวิศวกรถ้าคุณไม่มีคุณก็ไม่มีสิทธิสอนแต่ก็มีข้อยกเว้นบางประการ และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูยังมีความสำคัญคือ ถือเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพและเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น ที่สำคัญข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 แต่สมัยนี้แค่มีใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ก็สามารถเข้ามาสอนและมีสิทธิที่จะได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

 3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง

ตอบแนวทางในการระดมทุนควรพิจารณาถึง คน(man) วัสดุ(material) และการบริหารจัดการ(management) ประกอบไปด้วย เช่น การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา การรวบรวมและใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแหล่งทุนที่ทุกสถานศึกษามี แต่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์เท่าที่ควรนอกจากนี้ยังมีการขอรับบริจาค การสนับสนุนงบประมาณ การจำหน่ายผลิตผลต่าง ๆ ของสถานศึกษา
ตัวอย่างเช่น การรับบริจาคหนังสือเข้าสู่ห้องสมุด เหมือนเป็นการรับหนังสือของผู้ที่ได้อ่านแล้วและไม่ประสงค์จะมีไว้ในครอบครอง เอามาบริจาคให้ห้องสมุดโรงเรียน เพื่อที่หนังสือเหล่านั้นจะได้เป็นประโยชน์แก่เด็กและผู้อื่นที่สนใจ

  4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง


ตอบ     รูปแบบการจัดการศึกษามีด้วยกัน 3รูปแบบคือ

1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ซึ่งการศึกษารูปแบบนี้จัดในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น สามารถจัดการศึกษาในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกล

2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่ยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การวัดและประเมินผลโดยคำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละบุคคล เช่น การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ

3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส สามารถศึกษาได้จากบุคคล สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ การศึกษาแบบนี้มีความยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจตรงกับความต้องการของตนเองและสามารถศึกษาในเวลาที่ปลอดจากภารกิจอื่นได้ เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชมการสาธิต การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ

การศึกษาในระบบ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา

การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดแบ่งไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง มี 3 ระดับคือ
1.            การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
2.            การศึกษาระดับประถม
3.การศึกษาระดับมัธยมศึกษา
     การศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นการศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มุ่งพัฒนาความเจริญงอกงามทางสติปัญญาและความคิด เพื่อความก้าวหน้าทางวิชา  การการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา ซึ่งจะครอบคลุมถึงการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานมาแล้ว


5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ     เหมือนกันตรงที่เป็นการเรียนฟรีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ต่างกันที่ การศึกษาภาคบังคับเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปี ก่อนระดับอุดมศึกษาเป็นการศึกษาที่จัดให้ตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียนไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
และการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้า ปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้า ของการศึกษาภาคบังคับ

 6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง


ตอบ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธ์ของกระทรวง

     7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546

                ตอบเพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ให้เป็นกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาและกำหนดให้มีองค์กรเกี่ยวกับวิชาชีพครู 2องค์กร

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด

ตอบ ไม่ผิด ตามมาตราที่ 43 ระบุว่า ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา หรือทางสถานศึกษาเชิญมาสอนชั่วคราว ไม่จำเป็นที่จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพก็ได้

     9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
     ตอบ     โทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคือบทลงโทษหากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากระทำความผิด
 และไม่ปฏิบัติตามวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดไว้ใน มาตรา 82ถึง มาตรา  97 หมวดที่ 6
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดขั้นเงินเดือน
(4) ปลดออก
(5) ไล่ออก
ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าเป็นผู้ลาออกจากราชการ

            10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน

            ตอบ เด็กหมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส

เด็กเร่ร่อนหมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน

เด็กกำพร้าหมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้

เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบากหมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดหมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น