วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3

 

1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล

                ตอบ เป็นกฎหมายรองจากรัฐธรรมนูญโดยรัฐธรรมนูญให้อำนาจในการร่างพระราชบัญญัติ

2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย

                ตอบ มาตรา ๖การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

                มาตรา ๗ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภูมิใจในการเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย

                ตอบ  การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้

๑.      เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน

๒.    ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

๓.     การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย

  ตอบ  การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้

๑.      มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ

๒.    มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา

๓.     มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา

๔.     มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

๕.     ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้ในการจัดการศึกษา

๖.      การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย

คำตอบ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ (แก้ไขฉบับที่ ๑ และ ฉบับที่ ๒) กล่าวไว้ว่า
มาตรา ๑๐ ว่าการจัดการศึกษา จะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและมีโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมถึง

บุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพและบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส จะต้องมีการจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ คือ ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และนอกจากนี้ให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และนอกจากนี้การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมตามลักษณะความสามารถของบุคคลนั้นๆ

มาตรา ๑๑ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะต้องมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา ๑๗ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษาที่นอกเหนือไปจากการศึกษาภาคบังคับ ตามความพร้อมของแต่ละครอบครัว

มาตรา ๑๒ นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคลครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๓ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ คือ การสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

มาตรา ๑๔ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิด้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี คือ การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด และได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด


6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ        รูปแบบการจัดการศึกษามีด้วยกัน 3รูปแบบคือ

1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ซึ่งการศึกษารูปแบบนี้จัดในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น สามารถจัดการศึกษาในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกล

2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่ยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การวัดและประเมินผลโดยคำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละบุคคล เช่น การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ

3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส สามารถศึกษาได้จากบุคคล สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ การศึกษาแบบนี้มีความยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจตรงกับความต้องการของตนเองและสามารถศึกษาในเวลาที่ปลอดจากภารกิจอื่นได้ เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชมการสาธิต การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ

7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร

คำตอบ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาได้ คือ การจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการเข้ากับแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งอาจจะมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนออกทัศนะศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อเป็นการศึกษานอกห้องเรียน และมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนที่มีสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆในท้องถิ่น มาเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียนในห้องเรียน และอาจจะมีการกำหนดชิ้นงานเพื่อให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้หรือจากบุคคลในชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนของนักเรียนและเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับนักเรียน และเพื่อให้นักเรียนตระหนักและเข้าใจว่าการเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าที่ดีเกิดจากการเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร

คำตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นในมาตราที่ มาตรา ๓๗ คือ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาและมีการคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นๆ เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา จะให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

และในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้

() การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาอารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ

() การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย

() การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ

() การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา

มาตรา ๔ มีการเพิ่มความว่า ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นวรรคห้าของมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๔๕เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ จากการที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา จึงมีการแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

คำตอบ เห็นด้วย เพราะสถานศึกษาก็คือสถานที่สำคัญที่จะสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับประเทศชาติ จึงควรมีอำนาจและสิทธิต่างๆที่สมควรจะได้รับ เพื่อนำไปเป็นปัจจัยในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน และที่สำคัญคือ หากสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล ก็จะทำให้สถานศึกษานั้นๆมีอำนาจในการส่งเสริม พัฒนาการจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมทางด้านต่างๆให้กับผู้เรียนได้อย่างเต็มที่

10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

คำตอบ เห็นด้วย เพราะการศึกษาไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากโรงเรียน หรือจากมหาวิทยาลัยเพียงแค่อย่างเดียว แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอาจจะเป็น วัด สถาบันทางศาสนา ท้องถิ่น หรือชุมชนที่มีความพร้อมในด้านปัจจัยต่างๆ ก็สามารถจัดการศึกษาที่ให้ความรู้ ให้การศึกษาแก่ผู้เรียนได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในสมัยก่อนที่การศึกษาของประเทศไทยจะเจริญรุ่งเรืองหรือเป็นที่แพร่หลายอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ก็มีการจัดการเรียนการสอน การศึกษาจากวัดสำหรับผู้ชาย ก็พบว่าสามารถจัดการศึกษาและอบรมคนไทยในสมัยนั้นให้เป็นคนดีได้เช่นกัน

11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย

คำตอบ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีหลักการคือ เป็นการประเมินผลและติดตามตรวจสอบสถานศึกษาในด้านต่างๆ คือ ด้านคุณภาพของสถานศึกษา ด้านมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน ด้านบุคลากรของสถานศึกษา และรวมถึงหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้นๆ ว่ามีความพร้อมและการทำงานที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ และรวมถึงมีการดำเนินงาน หรือปฏิบัติงานทางด้านการจัดการศึกษาที่เป็นไปเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทางการศึกษาหรือไม่ อย่างไร

12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

คำตอบ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะการจัดการศึกษาที่ดี ย่อมมาจากบุคคล หรือบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการศึกษา อบรม และการฝึกฝนประสบการณ์เฉพาะด้านมาเป็นอย่างดี จึงควรมีใบประกอบวิชาชีพ เพื่อเป็นเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพของบุคลากรแต่ละคนในระดับหนึ่ง และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียนและผู้ปกครองในการที่จะฝากบุตรหลาน หรือบุคคลในความครอบครองเข้ารับการศึกษากับครูหรือบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาต่างๆ

13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง

คำตอบ มีการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นโดยการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน โดยการสอบถามจากคนในชุมชน หรือจากผู้รู้ที่มีอยู่ในชุมชน หลังจากนั้นก็จัดทำ หรือคิดพัฒนาเป็นบทเรียนที่บูรณาการกับกิจกรรมในห้องเรียนอย่างเหมาะสม และอาจจะมีการผลิตสื่อต่างๆที่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในชุมชน ที่สามารถหาได้ง่าย และประหยัดซึ่งจะส่งผลดีต่อตัวผู้เรียนทำให้ผู้เรียนตระหนักถึงบ้านเกิดของตนเอง

14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

คำตอบ ในปัจจุบันนี้สังคมไทยและสังคมโลกมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และมีความก้าวหน้าทางการศึกษา ดังนั้นการจัดทำหรือพัฒนาสื่อ รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือการศึกษา จึงควรเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับความล้ำสมัยทางด้านเทคโนโลยี และที่สำคัญคือ จะต้องสอดคล้องกับลักษณะความต้องการของผู้เรียนด้วย ตัวอย่างของสื่อเช่น บทเรียนสำเร็จรูป หรือการค้นคว้าบนโลกอินเตอร์เน็ต



วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2


 

                                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบคือ ประเด็นที่อ่านแล้วน่าสนใจมี หมวดที่ ๓สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย กล่าวคือบุคคลย่อมมีสิทธิ เสรีภาพของตนสามารถใช้ และไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคลอื่น บุคคลมีความเสมอภาคกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน  บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม

 
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ เกี่ยวข้องในประเด็นที่ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐตะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ ประเด็นสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย  อย่างเช่นสิทธิและเสรีภาพในการศึกษา สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ เพราะประเทศไทยปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญจึงใช้เป็นกติกา ข้อบังคับ เป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศเหตุที่เราต้องมีความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญก็ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ  ความเสมอภาคที่ประชาชนแต่ละคนจะได้รับขั้นพื้นฐาน การใช้บทบาทหน้าที่ในทางที่ถูกต้อง และเป็นความรู้เพื่อไม่ให้คนกระทำความผิด

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ  ความคิดเห็นในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเหตุที่ต้องแก้ไขเพราะบางมาตราอาจยังไม่ครอบคลุม และบางครั้งโครงสร้างภายในประเทศเปลี่ยนไป คิดว่ามันขึ้นอยู่กับสภาพปัจจัยในเวลานั้นด้วย  เท่าที่ทราบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)(กระปุกดอทคอม. 2550) การแก้ไขรัฐธรรมนูญในแต่ละครั้งจะมีการได้เสียผลประโยชน์เกิดขึ้นด้วยเสมอเหตุที่มีประชาชนบางกลุ่มคัดค้านก็เพราะ คนกลุ่มนั้นเล็งเห็นว่าจะเกิดส่วนได้ส่วนเสียกับคนส่วนใหญ่


6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว 
ตอบ ความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ รัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติมีภาวะดำรงอยู่อย่างไม่มั่นคงต่อการบริหารบ้านเมืองภายในประเทศ รัฐสภาจะประกอบด้วยวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร์ซึ่งจะประชุมร่วมกันหรือแยกกันก็แล้วแต่ ส่วนมากหากมีการประชุมกันก็จะมาไม่ครบ ขาดประชุม หรือบางครั้งก็โต้เถียงกันจนเกินเลย คิดว่ามันไม่มีความสมดุลกันเลย ควรจะปรองดองกันมากกว่านี้ถ้าหากยังทำให้ไม่มีความชัดเจนในเรื่องการบริหาร ปกครองความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองก็จะไม่เกิดขึ้นแน่นนอน


วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

1.            กฎหมาย คือ บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและใช้บังคับความประพฤติของบุคคล อันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ และเมื่อปฏิบัติตามก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อสังคม

ที่มาจาก  ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

2.            สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม แบ่งออกเป็นสถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น ลูก หลาน คนไทย เป็นต้น และสถานภาพทางสังคม เช่น ครู นักเรียน แพทย์ เป็นต้น

3.             บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิ หน้าที่อันเนื่องมาจากสถานภาพของบุคคล เนื่องจากบุคคลมีหลายสถานภาพในคนคนเดียว ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้น ๆ

4.             สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง เช่น สิทธิเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์มีคุณสมบัติถูกต้อง ตามกฎหมายมีสิทธิเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

5.            เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำของบุคคลที่อยู่ในของเขตของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน เป็นต้น

6.             หน้าที่ หมายถึง ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ของบิดา ที่มีต่อบุตร เป็นต้น

ที่มาจาก  ปาริฉัตร สินธุวงศ์. (2554). ความหมายของ สถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ (ออนไลน์)สืบค้นจาก http://parichut.wordpress.com [9พฤศจิกายน 2555].

 

7.            นิติกรรม  หมายความว่าการใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร  มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล  เพื่อจะก่อ  เปลี่ยนแปลง  โอน  สงวน  หรือระงับซึ่งสิทธิ

8.            โมฆียะกรรม  หมายถึง  นิติกรรมที่มีผลจนกว่าจะถูกบอกล้างโดยผู้มีอำนาจบอกล้างตามกฎหมาย

9.            โมฆะกรรม  หมายถึง  นิติกรรมที่เสียเปล่าไม่เคยเกิดขึ้นเลย  ไม่มีพบตามกฎหมาย  และไม่สามารถให้สัตยาบันให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์ได้

10.    การข่มขู่  หมายถึง การทำให้กลัวภัยอันใดอันหนึ่ง  เพื่อให้เขาทำนิติกรรม  ถ้าหากไม่ทำตามที่บอกจะได้รับภัยแต่หากการข่มขู่นั้นทำให้อีกฝ่ายหนึ่งกลัวเพราะเป็นสิทธิตามกฎหมาย  หรือเพราะความนับถือยำเกรง ไม่ถือเป็นการข่มขู่

11.    นิติกรรมอำพราง  หมายถึงในระหว่างคู่กรณีจะมีการทำนิติกรรมขึ้นเป็น 2 ลักษณะ  กล่าวคือ  นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงที่ทำขึ้นเพื่อลวงผู้อื่นให้เข้าใจว่าคู่กรณีได้ตกลงทำนิติกรรมลักษณะนี้กัน  และอีกลักษณะคือ  นิติกรรมที่ถูกอำพรางอันเป็นนิติกรรมที่แท้จริงของคู่กรณีที่ปกปิดอำพรางไว้ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นรู้  ดังนั้นในระหว่างคู่กรณีจะต้องบังคับตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางนี้

12.    การแสดงเจตนาซ่อนเร้น  หมายถึงการแสดงเจตนาหลอก  เพราะผู้แสดงเจตนาได้แสดงเจตนาออกมาเพียงหลอก ๆ  ไม่ต้องการให้มีผลผูกพันจริงจังดังที่แสดงออกมานั้น  

13.    คนเสมือนไร้ความสามารถ  หมายถึง  คนที่ไม่ถึงกับวิกลจริต แต่มีเหตุบกพร่องบางประการไม่สามารถจัดการงานของตนได้  ศาลจึงตั้งผู้ดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ  เรียกว่า  ผู้พิทักษ์

ที่มาจาก  Mchai. (2552). นิติกรรมคืออะไร(ออนไลน์)สืบค้นจาก http://www.oknation.net/blog/Mchai/2009/10/17/entry-1 [9พฤศจิกายน 2555].

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Personal detail



ชื่อ  สาลินี   หอมสุด   ชื่อเล่น  ปั้นหยา 

คติประจำใจ Tomorrow will be better.                     

       ประวัติกาศึกษา

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนวัดคลองขยัน

จบชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 จาก โรงเรียนเชียรใหญ่สามมัคคีวิทยา

    จบชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 6 จาก โรงเรียนเชียรใหญ่สามมัคคีวิทยา

กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชชั้นปีที่4 คณะครุศาสตร์