วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

1.            กฎหมาย คือ บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและใช้บังคับความประพฤติของบุคคล อันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ และเมื่อปฏิบัติตามก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อสังคม

ที่มาจาก  ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

2.            สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม แบ่งออกเป็นสถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น ลูก หลาน คนไทย เป็นต้น และสถานภาพทางสังคม เช่น ครู นักเรียน แพทย์ เป็นต้น

3.             บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิ หน้าที่อันเนื่องมาจากสถานภาพของบุคคล เนื่องจากบุคคลมีหลายสถานภาพในคนคนเดียว ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้น ๆ

4.             สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง เช่น สิทธิเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์มีคุณสมบัติถูกต้อง ตามกฎหมายมีสิทธิเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

5.            เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำของบุคคลที่อยู่ในของเขตของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน เป็นต้น

6.             หน้าที่ หมายถึง ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ของบิดา ที่มีต่อบุตร เป็นต้น

ที่มาจาก  ปาริฉัตร สินธุวงศ์. (2554). ความหมายของ สถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ (ออนไลน์)สืบค้นจาก http://parichut.wordpress.com [9พฤศจิกายน 2555].

 

7.            นิติกรรม  หมายความว่าการใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร  มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล  เพื่อจะก่อ  เปลี่ยนแปลง  โอน  สงวน  หรือระงับซึ่งสิทธิ

8.            โมฆียะกรรม  หมายถึง  นิติกรรมที่มีผลจนกว่าจะถูกบอกล้างโดยผู้มีอำนาจบอกล้างตามกฎหมาย

9.            โมฆะกรรม  หมายถึง  นิติกรรมที่เสียเปล่าไม่เคยเกิดขึ้นเลย  ไม่มีพบตามกฎหมาย  และไม่สามารถให้สัตยาบันให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์ได้

10.    การข่มขู่  หมายถึง การทำให้กลัวภัยอันใดอันหนึ่ง  เพื่อให้เขาทำนิติกรรม  ถ้าหากไม่ทำตามที่บอกจะได้รับภัยแต่หากการข่มขู่นั้นทำให้อีกฝ่ายหนึ่งกลัวเพราะเป็นสิทธิตามกฎหมาย  หรือเพราะความนับถือยำเกรง ไม่ถือเป็นการข่มขู่

11.    นิติกรรมอำพราง  หมายถึงในระหว่างคู่กรณีจะมีการทำนิติกรรมขึ้นเป็น 2 ลักษณะ  กล่าวคือ  นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงที่ทำขึ้นเพื่อลวงผู้อื่นให้เข้าใจว่าคู่กรณีได้ตกลงทำนิติกรรมลักษณะนี้กัน  และอีกลักษณะคือ  นิติกรรมที่ถูกอำพรางอันเป็นนิติกรรมที่แท้จริงของคู่กรณีที่ปกปิดอำพรางไว้ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นรู้  ดังนั้นในระหว่างคู่กรณีจะต้องบังคับตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางนี้

12.    การแสดงเจตนาซ่อนเร้น  หมายถึงการแสดงเจตนาหลอก  เพราะผู้แสดงเจตนาได้แสดงเจตนาออกมาเพียงหลอก ๆ  ไม่ต้องการให้มีผลผูกพันจริงจังดังที่แสดงออกมานั้น  

13.    คนเสมือนไร้ความสามารถ  หมายถึง  คนที่ไม่ถึงกับวิกลจริต แต่มีเหตุบกพร่องบางประการไม่สามารถจัดการงานของตนได้  ศาลจึงตั้งผู้ดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ  เรียกว่า  ผู้พิทักษ์

ที่มาจาก  Mchai. (2552). นิติกรรมคืออะไร(ออนไลน์)สืบค้นจาก http://www.oknation.net/blog/Mchai/2009/10/17/entry-1 [9พฤศจิกายน 2555].

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Personal detail



ชื่อ  สาลินี   หอมสุด   ชื่อเล่น  ปั้นหยา 

คติประจำใจ Tomorrow will be better.                     

       ประวัติกาศึกษา

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนวัดคลองขยัน

จบชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 จาก โรงเรียนเชียรใหญ่สามมัคคีวิทยา

    จบชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 6 จาก โรงเรียนเชียรใหญ่สามมัคคีวิทยา

กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชชั้นปีที่4 คณะครุศาสตร์